....หน่วยที่ 7
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
7.1ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ธรรมชาติมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว การทำงานตลอดจนสังคมและการเมือง ทำให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
พัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบ รวมศูนย์ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม โดยให้ผู้ใช้งานใช้พร้อมกันได้หลายคน แต่ละคนเปรียบเสมือน เป็นสถานีปลายทาง ที่เรียกใช้ทรัพยากร การคำนวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์และให้คอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อ การทำงานนั้น ต่อมามีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้งานส่วนบุคคล จนมีการเรียกไมโครคอมพิวเตอร์ ว่า พีซี (Personal Competer:PC) การใช้งานคอมพิวเตอร์จึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะการใช้งานง่ายราคา ไม่สูงมาก สามารถจัดหามาใช้ได้ไม่ยาก เมื่อ มีการใช้งานกันมาก บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็ปรับปรุง และพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการที่จะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงเป็นวิธีการหนึ่ง และกำลังได้รับความนิยมสูงมาก เพราะทำให้ตอบสนองตรงความต้องการที่จะติดต่อสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ได้แก่ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ มาเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้รับ การพัฒนาให้มีขีดความสามารถและทำงานได้มากขึ้น จนกระทั่งคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทำงานในรูปแบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่มาเป็นสถานีบริการ หรือที่เรียกว่า เครื่องให้บริการ (Server ) และให้ไมโครคอมพิวเตอร์ตาม หน่วยงานต่างๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (Client) โดยมีเครือข่าย(Network) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จาก จุดต่างๆ ในที่สุดระบบเครือข่ายก็จะเข้ามาแทนระบบคอมพิวเตอร์เดิมที่เป็นแบบรวมศูนย์ได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้ พอเหมาะกับงาน ในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังในการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงเช่น มินิคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เป็นสถานีบริการที่ทำให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าขึ้นก็สามารถขยายเครือข่ายการใช้ คอมพิวเตอร์โดยเพิ่มจำนวนเครื่องหรือขยายความจุข้อมูลให้พอเหมาะกับองค์กร ในปัจจุบันองค์การขนาดใหญ่ก็สามารถลดการลงทุนลงได้ โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากกลุ่มเล็ก ๆ หลาย ๆ กลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายขององค์การ โดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารถทำได้ดีเหมือน เช่น ใน อดีตที่ต้องลงทุนจำนวนมาก เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทที่สำคัญต่อหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
ธรรมชาติมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว การทำงานตลอดจนสังคมและการเมือง ทำให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
พัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบ รวมศูนย์ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม โดยให้ผู้ใช้งานใช้พร้อมกันได้หลายคน แต่ละคนเปรียบเสมือน เป็นสถานีปลายทาง ที่เรียกใช้ทรัพยากร การคำนวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์และให้คอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อ การทำงานนั้น ต่อมามีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้งานส่วนบุคคล จนมีการเรียกไมโครคอมพิวเตอร์ ว่า พีซี (Personal Competer:PC) การใช้งานคอมพิวเตอร์จึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะการใช้งานง่ายราคา ไม่สูงมาก สามารถจัดหามาใช้ได้ไม่ยาก เมื่อ มีการใช้งานกันมาก บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็ปรับปรุง และพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการที่จะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงเป็นวิธีการหนึ่ง และกำลังได้รับความนิยมสูงมาก เพราะทำให้ตอบสนองตรงความต้องการที่จะติดต่อสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ได้แก่ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ มาเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้รับ การพัฒนาให้มีขีดความสามารถและทำงานได้มากขึ้น จนกระทั่งคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทำงานในรูปแบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่มาเป็นสถานีบริการ หรือที่เรียกว่า เครื่องให้บริการ (Server ) และให้ไมโครคอมพิวเตอร์ตาม หน่วยงานต่างๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (Client) โดยมีเครือข่าย(Network) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จาก จุดต่างๆ ในที่สุดระบบเครือข่ายก็จะเข้ามาแทนระบบคอมพิวเตอร์เดิมที่เป็นแบบรวมศูนย์ได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้ พอเหมาะกับงาน ในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังในการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงเช่น มินิคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เป็นสถานีบริการที่ทำให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าขึ้นก็สามารถขยายเครือข่ายการใช้ คอมพิวเตอร์โดยเพิ่มจำนวนเครื่องหรือขยายความจุข้อมูลให้พอเหมาะกับองค์กร ในปัจจุบันองค์การขนาดใหญ่ก็สามารถลดการลงทุนลงได้ โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากกลุ่มเล็ก ๆ หลาย ๆ กลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายขององค์การ โดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารถทำได้ดีเหมือน เช่น ใน อดีตที่ต้องลงทุนจำนวนมาก เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทที่สำคัญต่อหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และสามารถทำงานพร้อมกัน
2. ให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งทำให้องค์การได้รับประโยชน์มากขึ้น
3. ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน4. ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้
2. ให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งทำให้องค์การได้รับประโยชน์มากขึ้น
3. ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน4. ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้
7.2 ชนิดของเครือข่าย
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามสภาพการเชื่อมโยงได้ 2 ชนิด
- เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
- เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN
7.2.1 เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่ บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลน มีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกันจนเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่เช่นมหาวิทยาลัย มีการวางเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่รับผิดชอบโดยองค์การที่เป็นเจ้าของ ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คืออุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับส่งสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่ หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนถึงร้อยล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสารสูง ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อยและสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้
7.2.2 เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่าย ที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ มีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารจึงไม่สูง เนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อผิดพลาดของ การรับส่งข้อมูล เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้เช่นที่ทำการสาขาทุกแห่ง ของธนาคารแห่งหนึ่งมีเครือข่ายแลนเพื่อใช้ทำงานภายในสาขานั้นๆ และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลน ของทุกสาขาให้เป็นระบบเดียวด้วยเครือข่ายแวนในอนาคตอันใกล้นี้ บทบาทของเครือข่ายแวนจะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์การทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และการทำงานร่วมกัน ในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล ทั้งที่วางตามถนนและวางใต้น้ำ เทคโนโลยีของการเชื่อมโยง ได้รับการพัฒนาไปมากแต่ยังไม่พอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว7.3 เทคโนโลยีเครือข่ายแลน
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายแลนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกันได้ทั้งหมดหากนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่อสายสัญญาณเข้าหากันจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอง นั้นส่งข้อมูลถึงกันได้ครั้นจะนำเอาคอมพิวเตอร์เครื่องที่สามต่อรวมด้วย เริ่มจะมีข้อยุ่งยากเพิ่มขึ้น และยิ่งถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งมีข้อยุ่งยากที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสื่อสารกันได้ ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องหาวิธีการและเทคนิคในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบต่างๆ เพื่อลดข้อยุ่งยาก ในการเชื่อมโยงสายสัญญาณโดยใช้สายสัญญาณน้อยและเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้เพราะข้อจำกัดของการใช้ สายสัญญาณเป็นเรื่องสำคัญมาก บริษัทผู้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้พยายามคิดหาวิธี และใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน ออกมาหลายระบบ ระบบใดได้รับการยอมรับก็มีการตั้งมาตรฐานกลาง เพื่อว่าจะได้มีผู้ผลิตที่สนใจการผลิตอุปกรณ์ เชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย เทคโนโลยีเครือข่ายแลนจึงมีหลากหลาย เครือข่ายแลนที่น่าสนใจ เช่น อีเทอร์เน็ต (Ethernet) โทเก็นริง (Token Ring) และ สวิตชิง (Switching)
7.3.1 อีเทอร์เน็ต (Ethernet) อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบ เทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณเส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล ผู้ส่งต้องส่งข้อมูล ไปยังปลายทางอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เสียเวลามาก จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub) และเรียกระบบใหม่นี้ว่า เทนเบสที (10 base t) โดยใช้สายสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงและราคาถูกซึ่งเรียกว่า สายคู่บิตเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair : UTP) ทำให้การเชื่อมต่อนี้ มีลักษณะแบบดาว วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และมีการพัฒนาเป็นมาตรฐาน กำหนดชื่อมาตรฐานนี้ว่า 802.3 ความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที
7.3.2 โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่สับสน และมีรูปแบบ ที่ชัดเจน โทเก็นริงที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณได้ 16 ล้านบิตต่อวินาที ข้อมูลแต่ละชุดจะมี การกำหนดตำแหน่งแน่นอนว่ามาจากสถานีใด และจะส่งไปที่สถานีใด
7.3.3 สวิตชิง เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีทำได้เร็วยิ่งขึ้น การคัดเลือกชุดข้อมูล ที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทาง จะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า สวิตชิง รูปแบบของเครือข่ายแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นแบบดาว ซึ่งโครงสร้างนี้จะเหมือนกันกับแบบอีเทอร์เน็ตที่มีฮับเป็นศูนย์กลาง แต่แตกต่างกันที่ฮับเป็นจุดร่วมของสาย สัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย แต่สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น สวิตชิงจึงมีข้อดี กว่าฮับเนื่องจากแต่ละสายสัญญาณจะมีความเป็นอิสระต่อกันมาก ทำให้รับส่งสัญญาณไม่มีปัญหาเรื่องการชนกัน ของข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ในการสวิตชิงมีหลายแบบ เช่น อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ และเอทีเอ็มสวิตซ์ เอทีเอ็มสวิตซ์เป็นอุปกรณ์การสลับสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลที่มีการรับส่งกันเป็นชุด ๆ ข้อมูลแต่ละชุดเรียกว่า เซล มีขนาดจำกัด การสวิตชิงแบบเอทีเอ็มทำให้ข้อมูลจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการประยุกต์งานสมัยใหม่หลายอย่าง ต้องการความเร็วสูง โดยเฉพาะการสื่อสารที่มีการผสมหลายสื่อรวมทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงและวีดิโอ
7.4 การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายแลนหนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่าย ขนาดใหญ่ ตัวอย่างการใช้งานเครือข่าย
7.4.1 การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน งานขององค์กรบางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน ถ้าแต่ละฝ่ายทำการหาหรือรวบรวมข้อมูลเอง ข้อมูลอาจ จะมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันก็ได้ นอกจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วยังทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรบุคคลและวัสดุอุปกรณ์ สิ้นเปลืองเวลาอีกด้วย แต่ถ้าองค์กรนั้นมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี มีสถานีให้บริการเก็บข้อมูล แล้วให้ผู้ใช้บริการในองค์กร นั้นดึงข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไปใช้ ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกน กล้องดิจิตอล ฯลฯ การดำเนินงานก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันเนื่องจากใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
7.4.2 การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้ทุกคนที่อยู่บนเครือข่าย จะสามารถ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถส่ง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ตลอดจนสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้
7.4.3 สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่ ก็คือ ลดการใช้กระดาษ หันมาใช้ระบบการทำงาน ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นระบบการทำงานที่ทุกสถานีงานเปรียบเสมือน โต๊ะทำงาน ทำให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็ว
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7.5 ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะมีการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายอย่างกว้างขวาง ทำให้เครือข่าย คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกันในองค์กรแต่ละองค์กร ก็มีการพัฒนาเครือข่ายของตนเองและประยุกต์ใช้กับงานเฉพาะในองค์กร เรียกว่าอินทราเน็ต ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึง แตกต่างจากอินทราเน็ตตรงที่ขอบเขตของการเชื่อมโยง ส่วนมาตรฐานและวิธีการเชื่อมโยงยังคงเป็นมาตรฐานเดียวกัน
7.5.1 อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทุนกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำในสหรัฐฯ เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้าเป็นเครือข่าย และใช้ทรัพยากรเพื่อทำงานวิจัย เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกัน ซึ่งสมัยแรกใช้ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต และจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อินเทอร์เน็ตในภายหลัง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน โดยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลมีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ต่อมามีการเชื่อมเครือข่ายออกสู่องค์กรเอกชน และแพร่ขยายไปทั่วโลก เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หมายความว่าในองค์กรได้สร้างเครือข่ายภายในตนเองขึ้นมา และนำมาเชื่อมต่อสู่เครือข่าย สากลอินเทอร์เน็ตนี้ โดยมีการกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ด้วยรหัสหมายเลขที่เรียกว่า แอดเดรส ซึ่งอินเทอร์เน็ต กำหนดรหัสแอดเดรสเรียกว่า ไอพีแอดเดรส และถือเป็นรหัสสากลที่ไม่ซ้ำกันเลย ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยเน้นเป็นรหัสของเครือข่ายและรหัสของอุปกรณ์ เช่น รหัสแทนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 ส่วนรหัสของเครื่องจะมีอีกสองพิกัดตามมา เช่น 2.71 เมื่อเขียนรวมกันจะได้ 158.108.2.71 เพื่อให้จดจำได้ง่ายจึงมีการตั้งชื่อคู่กับหมายเลข เราเรียกชื่อนี้ว่า โดเมน เช่นโดเมนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ ใช้ชื่อ ku.ac.th โดย th หมายถึงประเทศไทย ac หมายถึงสถาบันการศึกษา และ ku หมายถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในเครือข่ายหลายเครื่อง ก็ให้มีการตั้งชื่อเครื่องด้วย เช่น nontri เมื่อมีการเรียกรวมกันก็ จะเป็น nontri.ku.ac.th การใช้ชื่อนี้ทำให้ใช้งานง่ายกว่าตัวเลข เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ สามารถสื่อถึงได้อย่าง รวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่น ๆ อีกมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา
1. การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
2. การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
3. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4. การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้ ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW) เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5. การอ่านจากกลุ่มข่าว ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้ และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6. การสนทนาบนเครือข่าย เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง ในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้ ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7. การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย
7.5.2 อินทราเน็ต เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย จึงมีผู้ต้องการสร้างเครือข่ายใช้งานเฉพาะในองค์กรโดยนำวิธีการในอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้กับเครือข่ายของตนเอง เครือข่ายที่ใช้งานเฉพาะในองค์การนี้จึงเรียกว่า เครือข่ายอินทราเน็ต การประยุกต์ใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้หลักการที่มีสถานีให้บริการ และสถานีผู้ใช้บริการ สถานีผู้ใช้บริการมีโปรแกรมเชื่อมต่อที่ทำให้ใช้งานระบบฐานข้อมูลได้ง่าย อินทราเน็ตจึงใช้วิธีการเดียวกันนี้ เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้การพัฒนาขึ้น และพร้อมที่จะเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้
7.2.2 เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่าย ที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ มีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารจึงไม่สูง เนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อผิดพลาดของ การรับส่งข้อมูล เครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้เช่นที่ทำการสาขาทุกแห่ง ของธนาคารแห่งหนึ่งมีเครือข่ายแลนเพื่อใช้ทำงานภายในสาขานั้นๆ และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลน ของทุกสาขาให้เป็นระบบเดียวด้วยเครือข่ายแวนในอนาคตอันใกล้นี้ บทบาทของเครือข่ายแวนจะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์การทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และการทำงานร่วมกัน ในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล ทั้งที่วางตามถนนและวางใต้น้ำ เทคโนโลยีของการเชื่อมโยง ได้รับการพัฒนาไปมากแต่ยังไม่พอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว7.3 เทคโนโลยีเครือข่ายแลน
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายแลนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกันได้ทั้งหมดหากนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่อสายสัญญาณเข้าหากันจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอง นั้นส่งข้อมูลถึงกันได้ครั้นจะนำเอาคอมพิวเตอร์เครื่องที่สามต่อรวมด้วย เริ่มจะมีข้อยุ่งยากเพิ่มขึ้น และยิ่งถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งมีข้อยุ่งยากที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสื่อสารกันได้ ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องหาวิธีการและเทคนิคในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบต่างๆ เพื่อลดข้อยุ่งยาก ในการเชื่อมโยงสายสัญญาณโดยใช้สายสัญญาณน้อยและเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้เพราะข้อจำกัดของการใช้ สายสัญญาณเป็นเรื่องสำคัญมาก บริษัทผู้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้พยายามคิดหาวิธี และใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน ออกมาหลายระบบ ระบบใดได้รับการยอมรับก็มีการตั้งมาตรฐานกลาง เพื่อว่าจะได้มีผู้ผลิตที่สนใจการผลิตอุปกรณ์ เชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย เทคโนโลยีเครือข่ายแลนจึงมีหลากหลาย เครือข่ายแลนที่น่าสนใจ เช่น อีเทอร์เน็ต (Ethernet) โทเก็นริง (Token Ring) และ สวิตชิง (Switching)
7.3.1 อีเทอร์เน็ต (Ethernet) อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบ เทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณเส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล ผู้ส่งต้องส่งข้อมูล ไปยังปลายทางอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เสียเวลามาก จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub) และเรียกระบบใหม่นี้ว่า เทนเบสที (10 base t) โดยใช้สายสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงและราคาถูกซึ่งเรียกว่า สายคู่บิตเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair : UTP) ทำให้การเชื่อมต่อนี้ มีลักษณะแบบดาว วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และมีการพัฒนาเป็นมาตรฐาน กำหนดชื่อมาตรฐานนี้ว่า 802.3 ความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที
7.3.2 โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่สับสน และมีรูปแบบ ที่ชัดเจน โทเก็นริงที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณได้ 16 ล้านบิตต่อวินาที ข้อมูลแต่ละชุดจะมี การกำหนดตำแหน่งแน่นอนว่ามาจากสถานีใด และจะส่งไปที่สถานีใด
7.3.3 สวิตชิง เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีทำได้เร็วยิ่งขึ้น การคัดเลือกชุดข้อมูล ที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทาง จะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า สวิตชิง รูปแบบของเครือข่ายแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นแบบดาว ซึ่งโครงสร้างนี้จะเหมือนกันกับแบบอีเทอร์เน็ตที่มีฮับเป็นศูนย์กลาง แต่แตกต่างกันที่ฮับเป็นจุดร่วมของสาย สัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย แต่สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น สวิตชิงจึงมีข้อดี กว่าฮับเนื่องจากแต่ละสายสัญญาณจะมีความเป็นอิสระต่อกันมาก ทำให้รับส่งสัญญาณไม่มีปัญหาเรื่องการชนกัน ของข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ในการสวิตชิงมีหลายแบบ เช่น อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ และเอทีเอ็มสวิตซ์ เอทีเอ็มสวิตซ์เป็นอุปกรณ์การสลับสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลที่มีการรับส่งกันเป็นชุด ๆ ข้อมูลแต่ละชุดเรียกว่า เซล มีขนาดจำกัด การสวิตชิงแบบเอทีเอ็มทำให้ข้อมูลจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการประยุกต์งานสมัยใหม่หลายอย่าง ต้องการความเร็วสูง โดยเฉพาะการสื่อสารที่มีการผสมหลายสื่อรวมทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงและวีดิโอ
7.4 การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายแลนหนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่าย ขนาดใหญ่ ตัวอย่างการใช้งานเครือข่าย
7.4.1 การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน งานขององค์กรบางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน ถ้าแต่ละฝ่ายทำการหาหรือรวบรวมข้อมูลเอง ข้อมูลอาจ จะมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันก็ได้ นอกจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วยังทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรบุคคลและวัสดุอุปกรณ์ สิ้นเปลืองเวลาอีกด้วย แต่ถ้าองค์กรนั้นมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี มีสถานีให้บริการเก็บข้อมูล แล้วให้ผู้ใช้บริการในองค์กร นั้นดึงข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไปใช้ ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกน กล้องดิจิตอล ฯลฯ การดำเนินงานก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันเนื่องจากใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
7.4.2 การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้ทุกคนที่อยู่บนเครือข่าย จะสามารถ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถส่ง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ตลอดจนสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้
7.4.3 สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่ ก็คือ ลดการใช้กระดาษ หันมาใช้ระบบการทำงาน ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นระบบการทำงานที่ทุกสถานีงานเปรียบเสมือน โต๊ะทำงาน ทำให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็ว
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7.5 ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะมีการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายอย่างกว้างขวาง ทำให้เครือข่าย คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกันในองค์กรแต่ละองค์กร ก็มีการพัฒนาเครือข่ายของตนเองและประยุกต์ใช้กับงานเฉพาะในองค์กร เรียกว่าอินทราเน็ต ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึง แตกต่างจากอินทราเน็ตตรงที่ขอบเขตของการเชื่อมโยง ส่วนมาตรฐานและวิธีการเชื่อมโยงยังคงเป็นมาตรฐานเดียวกัน
7.5.1 อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทุนกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำในสหรัฐฯ เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้าเป็นเครือข่าย และใช้ทรัพยากรเพื่อทำงานวิจัย เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกัน ซึ่งสมัยแรกใช้ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต และจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อินเทอร์เน็ตในภายหลัง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน โดยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลมีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ต่อมามีการเชื่อมเครือข่ายออกสู่องค์กรเอกชน และแพร่ขยายไปทั่วโลก เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หมายความว่าในองค์กรได้สร้างเครือข่ายภายในตนเองขึ้นมา และนำมาเชื่อมต่อสู่เครือข่าย สากลอินเทอร์เน็ตนี้ โดยมีการกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ด้วยรหัสหมายเลขที่เรียกว่า แอดเดรส ซึ่งอินเทอร์เน็ต กำหนดรหัสแอดเดรสเรียกว่า ไอพีแอดเดรส และถือเป็นรหัสสากลที่ไม่ซ้ำกันเลย ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยเน้นเป็นรหัสของเครือข่ายและรหัสของอุปกรณ์ เช่น รหัสแทนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 ส่วนรหัสของเครื่องจะมีอีกสองพิกัดตามมา เช่น 2.71 เมื่อเขียนรวมกันจะได้ 158.108.2.71 เพื่อให้จดจำได้ง่ายจึงมีการตั้งชื่อคู่กับหมายเลข เราเรียกชื่อนี้ว่า โดเมน เช่นโดเมนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ ใช้ชื่อ ku.ac.th โดย th หมายถึงประเทศไทย ac หมายถึงสถาบันการศึกษา และ ku หมายถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในเครือข่ายหลายเครื่อง ก็ให้มีการตั้งชื่อเครื่องด้วย เช่น nontri เมื่อมีการเรียกรวมกันก็ จะเป็น nontri.ku.ac.th การใช้ชื่อนี้ทำให้ใช้งานง่ายกว่าตัวเลข เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ สามารถสื่อถึงได้อย่าง รวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่น ๆ อีกมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา
1. การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
2. การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
3. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4. การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้ ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW) เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5. การอ่านจากกลุ่มข่าว ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้ และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6. การสนทนาบนเครือข่าย เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง ในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้ ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7. การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย
7.5.2 อินทราเน็ต เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย จึงมีผู้ต้องการสร้างเครือข่ายใช้งานเฉพาะในองค์กรโดยนำวิธีการในอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้กับเครือข่ายของตนเอง เครือข่ายที่ใช้งานเฉพาะในองค์การนี้จึงเรียกว่า เครือข่ายอินทราเน็ต การประยุกต์ใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้หลักการที่มีสถานีให้บริการ และสถานีผู้ใช้บริการ สถานีผู้ใช้บริการมีโปรแกรมเชื่อมต่อที่ทำให้ใช้งานระบบฐานข้อมูลได้ง่าย อินทราเน็ตจึงใช้วิธีการเดียวกันนี้ เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้การพัฒนาขึ้น และพร้อมที่จะเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
หลักพื้นฐานในการค้นหาข้อมูลด้วย Google
การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก
การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก
เคล็ดลับขั้นต้นที่จะช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้แก่ · การเลือกหัวข้อค้นหา
· การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
· การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน "and"
· การละคำทั่วไป
· การค้นหาคำใกล้เคียง
· การค้นหาทั้งวลี
· หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ ·
ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย
· การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
· การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน "and"
· การละคำทั่วไป
· การค้นหาคำใกล้เคียง
· การค้นหาทั้งวลี
· หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ ·
ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย
การเลือกหัวข้อค้นหา
การเลือกหัวข้อค้นหาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณค้นพบข้อมูลที่ต้องการ เริ่มต้นด้วยตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าคุณอยากทราบข้อมูลทั่วไปของรัฐฮาวาย ลองใช้หัวข้อค้นหา Hawaii แต่ตามปกติแล้วการใช้หัวข้อค้นหามากกว่าหนึ่งคำจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ถ้าคุณมีแผนอยากไปพักร้อนที่ฮาวาย หัวข้อค้นหาvacation Hawaii ย่อมให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้หัวข้อค้นหาเพียง vacation หรือ Hawaii อย่างใดอย่างหนึ่ง และ vacation Hawaii golf อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก(หรือแย่ลงก็ได้ อันนี้แล้วแต่) คุณอาจจะลองถามตัวเองว่าหัวข้อค้นหาที่คุณใช้นั้น ชัดเจนเพียงพอหรือไม่ การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา luxury hotels Maui ย่อมดีกว่าหัวข้อ tropical island hotels แต่จงเลือกหัวข้อค้นหาอย่างระมัดระวัง เพราะ Google จะค้นหาโดยยึดสิ่งที่คุณพิมพ์เป็นหลัก ดังนั้นหัวข้อ luxury hotels Maui น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า really nice places to spend the night in Maui
การเลือกหัวข้อค้นหาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณค้นพบข้อมูลที่ต้องการ เริ่มต้นด้วยตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าคุณอยากทราบข้อมูลทั่วไปของรัฐฮาวาย ลองใช้หัวข้อค้นหา Hawaii แต่ตามปกติแล้วการใช้หัวข้อค้นหามากกว่าหนึ่งคำจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ถ้าคุณมีแผนอยากไปพักร้อนที่ฮาวาย หัวข้อค้นหาvacation Hawaii ย่อมให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้หัวข้อค้นหาเพียง vacation หรือ Hawaii อย่างใดอย่างหนึ่ง และ vacation Hawaii golf อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก(หรือแย่ลงก็ได้ อันนี้แล้วแต่) คุณอาจจะลองถามตัวเองว่าหัวข้อค้นหาที่คุณใช้นั้น ชัดเจนเพียงพอหรือไม่ การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา luxury hotels Maui ย่อมดีกว่าหัวข้อ tropical island hotels แต่จงเลือกหัวข้อค้นหาอย่างระมัดระวัง เพราะ Google จะค้นหาโดยยึดสิ่งที่คุณพิมพ์เป็นหลัก ดังนั้นหัวข้อ luxury hotels Maui น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า really nice places to spend the night in Maui
การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
การค้นหาโดยใช้ Google นั้นจะถือว่าตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่มีค่าเท่ากัน ดังนั้น การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา george washington, George Washington และ gEoRgE wAsHiNgToN จะให้ผลลัพธ์เหมือนกัน การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน and ตามปกติแล้ว Google จะคืนผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บที่มีหัวข้อค้นหาทุกคำเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำว่า “and” ระหว่างหัวข้อค้นหา อย่างไรก็ตาม ลำดับการพิมพ์หัวข้อค้นหามีผลต่อข้อมูลผลลัพธ์ ถ้าต้องการให้การค้นหาจำกัดแคบลงไปอีก ให้พิมพ์หัวข้อค้นหาเพิ่มลงไป เช่น หากต้องการหาที่พักร้อนในฮาวาย พิมพ์ vacation hawaii
การค้นหาโดยใช้ Google นั้นจะถือว่าตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่มีค่าเท่ากัน ดังนั้น การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา george washington, George Washington และ gEoRgE wAsHiNgToN จะให้ผลลัพธ์เหมือนกัน การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน and ตามปกติแล้ว Google จะคืนผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บที่มีหัวข้อค้นหาทุกคำเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำว่า “and” ระหว่างหัวข้อค้นหา อย่างไรก็ตาม ลำดับการพิมพ์หัวข้อค้นหามีผลต่อข้อมูลผลลัพธ์ ถ้าต้องการให้การค้นหาจำกัดแคบลงไปอีก ให้พิมพ์หัวข้อค้นหาเพิ่มลงไป เช่น หากต้องการหาที่พักร้อนในฮาวาย พิมพ์ vacation hawaii
การละคำทั่วไป
Google จะละคำทั่วไป เช่นคำว่า "where" และ "how" ออกจากการค้นหา เช่นเดียวกับตัวเลขตัวเดียวและตัวอักษรตัวเดียว เนื่องจากการใช้คำดังกล่าวด้วยอาจทำให้การค้นข้อมูลทำได้ช้าลง และไม่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น ในกรณีที่ต้องการรวมคำดังกล่าวไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ คุณสามารถพิมพ์เครื่องหมาย + ไว้หน้าคำนั้น (อย่าลืมเว้นวรรคหน้าเครื่องหมาย +)อีกวิธีหนึ่งคือทำการค้นหาแบบเป็นวลี โดยใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบหัวข้อค้นหาสองคำหรือมากกว่านั้น (เช่น "where are you")
Google จะละคำทั่วไป เช่นคำว่า "where" และ "how" ออกจากการค้นหา เช่นเดียวกับตัวเลขตัวเดียวและตัวอักษรตัวเดียว เนื่องจากการใช้คำดังกล่าวด้วยอาจทำให้การค้นข้อมูลทำได้ช้าลง และไม่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น ในกรณีที่ต้องการรวมคำดังกล่าวไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ คุณสามารถพิมพ์เครื่องหมาย + ไว้หน้าคำนั้น (อย่าลืมเว้นวรรคหน้าเครื่องหมาย +)อีกวิธีหนึ่งคือทำการค้นหาแบบเป็นวลี โดยใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบหัวข้อค้นหาสองคำหรือมากกว่านั้น (เช่น "where are you")
การค้นหาคำใกล้เคียงในปัจจุบัน Google มีเทคโนโลยีการหารากศัพท์ โดย Google ไม่เพียงแต่ค้นหาหัวข้อที่คุณพิมพ์ลงไปเท่านั้น แต่ยังค้นหาคำใกล้เคียงกันอีกด้วย เช่นการค้นจากคำว่า pet lemur dietary needs จะทำให้ Google ค้นหาคำว่า pet lemur diet needs และอื่นๆ ที่คล้ายกันอีกด้วย
การค้นหาทั้งวลี
ในการค้นหาทั้งวลี คุณเพียงแต่ใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบวลีนั้น การค้นหาด้วยวลีจะได้ผลมากกับชื่อเฉพาะ เช่น “George Washington”, เนื้อเพลง เช่น “the long and winding road” หรือคำคมเช่น “This was their finest hour”
ในการค้นหาทั้งวลี คุณเพียงแต่ใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบวลีนั้น การค้นหาด้วยวลีจะได้ผลมากกับชื่อเฉพาะ เช่น “George Washington”, เนื้อเพลง เช่น “the long and winding road” หรือคำคมเช่น “This was their finest hour”
หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ
ถ้าหัวข้อค้นหาของคุณมีหลายความหมาย (เช่น bass อาจมีความหมายเกี่ยวข้องกับปลาหรือดนตรีก็ได้) คุณสามารถระบุหัวข้อค้นหาโดยการพิมพ์เครื่องหมายลบ (-) หน้าความหมายที่ไม่ต้องการ (อย่าลืมใส่ช่องว่างหน้าเครื่องหมายลบ)เช่น ค้นหาหน้าเว็บที่ไม่เกี่ยวกับดนตรี และสุดท้าย "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" หลังจากกรอกหัวข้อค้นหาเรียบร้อยแล้ว คุณอาจลองใช้ปุ่ม "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" (I’m Feeling Lucky) ซึ่งจะพาคุณไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาที่ชัดเจนที่สุดทันทีโดยไม่แสดงหน้าจอผลลัพธ์ ตัวอย่าง ถ้าคุณต้องการค้นหาโฮมเพจของ Stanford University เพียงพิมพ์คำว่า Stanford จากนั้นคลิก "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" Google จะพาคุณไปยังเว็บ "www.stanford.edu" ทันที ห้องสมุดดิจิทัล Digital Library
เป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text) ได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิทัลมาจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมีหลากหลายรูปแบบได้แก่ - ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์- ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
ถ้าหัวข้อค้นหาของคุณมีหลายความหมาย (เช่น bass อาจมีความหมายเกี่ยวข้องกับปลาหรือดนตรีก็ได้) คุณสามารถระบุหัวข้อค้นหาโดยการพิมพ์เครื่องหมายลบ (-) หน้าความหมายที่ไม่ต้องการ (อย่าลืมใส่ช่องว่างหน้าเครื่องหมายลบ)เช่น ค้นหาหน้าเว็บที่ไม่เกี่ยวกับดนตรี และสุดท้าย "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" หลังจากกรอกหัวข้อค้นหาเรียบร้อยแล้ว คุณอาจลองใช้ปุ่ม "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" (I’m Feeling Lucky) ซึ่งจะพาคุณไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาที่ชัดเจนที่สุดทันทีโดยไม่แสดงหน้าจอผลลัพธ์ ตัวอย่าง ถ้าคุณต้องการค้นหาโฮมเพจของ Stanford University เพียงพิมพ์คำว่า Stanford จากนั้นคลิก "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" Google จะพาคุณไปยังเว็บ "www.stanford.edu" ทันที ห้องสมุดดิจิทัล Digital Library
เป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text) ได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิทัลมาจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมีหลากหลายรูปแบบได้แก่ - ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์- ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
- ข้อมูลจากซีดีรอม- ข้อมูลในวารสารอิเล็คทรอนิกส์- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์- ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects ส่วนทรัพยากร (Item) ในห้องสมุดดิจิตอล เรียกว่า Digital objects ซึ่งจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่เรียกว่า Server ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน Digital objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูลอธิบายรายละเอียดของข้อมูล หรือ Data นั้นๆ เรียกว่า Metadata ซึ่งการจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata นั้นก็เพื่อความสะดวกในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิทัลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตัลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ลักษณะของห้องสมุดดิจิทัลองค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพากรที่จัดเก็บในรูปดิจิทัล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสานสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิทัลเรียกว่า digital object หรือเรียกว่า Collection of information objects ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก้บข้อมูลซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้ในการจัดเก้บข้อมูล
2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดการ การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน
5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
6. มีวัฏจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิทัล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination) การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)
วัตถุประสงค์ของห้องสมุดดิจิทัล
- เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาเต็มรูป (Full text) ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้เลย
- เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งพิมพ์วัสดุที่คงคุณค่าไว้แก่คนรุ่นหลัง
-ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายทั่วโลก
-เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรหายากไว้ได้ และเผยแพร่แก่ผู้ใช้หลายคนได้พร้อมกันผ่านระบบเครือข่ายโดยที่ทรัพยากรนั้นไม่ชำรุด/เสียหาย
การพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
ความจำเป็นในการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้ในการใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านเครือข่ายที่จะได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึง ข้อมูลที่ต้องการเป็นการอนุรักษ์ความรู้ และแหล่งความรู้ทางปัญญาเพื่อนประโยชน์ของการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์หากห้องสมุดของไทยมีโครงการความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลมากขึ้นก็จะเป็นประโยชน์มากในทุกด้าน
ลักษณะของห้องสมุดดิจิทัลองค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพากรที่จัดเก็บในรูปดิจิทัล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสานสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิทัลเรียกว่า digital object หรือเรียกว่า Collection of information objects ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก้บข้อมูลซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้ในการจัดเก้บข้อมูล
2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดการ การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน
5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
6. มีวัฏจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิทัล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination) การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)
วัตถุประสงค์ของห้องสมุดดิจิทัล
- เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาเต็มรูป (Full text) ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้เลย
- เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งพิมพ์วัสดุที่คงคุณค่าไว้แก่คนรุ่นหลัง
-ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายทั่วโลก
-เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรหายากไว้ได้ และเผยแพร่แก่ผู้ใช้หลายคนได้พร้อมกันผ่านระบบเครือข่ายโดยที่ทรัพยากรนั้นไม่ชำรุด/เสียหาย
การพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
ความจำเป็นในการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้ในการใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านเครือข่ายที่จะได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึง ข้อมูลที่ต้องการเป็นการอนุรักษ์ความรู้ และแหล่งความรู้ทางปัญญาเพื่อนประโยชน์ของการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์หากห้องสมุดของไทยมีโครงการความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลมากขึ้นก็จะเป็นประโยชน์มากในทุกด้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น